วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตระกูลดาว

GALAXY




      ในยามค่ำคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งและไม่มีเมฆ นอกจากมองเห็นดวงจันทร์แล้ว เรายังมองเห็นดวงไฟดวงเล็กๆ บางดวงมีแสงระยิบระยับบางดวงมีแสงนิ่ง เราเรียกดวงไฟดวงเล็ก ๆ นี้ว่า ดวงดาว












[ประเภทและลักณะของดาว]
ดวงดาวต่าง ๆ ที่เรารู้จัก แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้น


1. ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง หรือดาวฤกษ์ เราจะเห็นแสงงระยิบระยับ และกะพริบตลอดเวลา เช่น ดวงอาทิตย์ ดาวเหนือ



2. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง หรือดาวเคราะห์ จะไม่มีแสงระยิบระยับ มองเห็นแสงคงที่ไม่กะพริบ เช่น ดวงจันทร์ ดาวศุกร์




ในเวลากลางคืนที่มองไม่เห็นดวงจันทร์ แสงสว่างใสท้องฟ้ามีน้อย     เราจะมองเห็นดวงดาวจำนวนมากมายอย่างชัดเจน แต่ถ้าในคืนที่มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงท้องฟ้าจะสว่างมาก แสงดวงจันทร์จะบดบังแสงของดวงดาวไว้ ทำให้เรามองดวงดาวไม่มากนัก


และแน่นอนว่าน้องๆทุกคนคงรูจักดาวเคราะห์กันหมดแล้วหรือไม่ก็คงผ่านตามาบ้าง วันนี้เราจะขอนำเสนอดาวในGalaxyดวงใหม่ๆที่เพิ่งค้นพบ ให้ทุกคนได้ทราบกัน



ดาวที่อยู่กระจัดกระจายเต็มท้องฟ้ามองจากโลกของเราเห็นเป็นแสงระยิบนั้นเรียกว่า ดาวฤกษ์(Stars) มีอยู่ประมาณ 5000 กว่าดวง  แบะ เห็นดาวประจำที่ จึงเห็นดวงดาวเหล่านั้น ปรากฏรวมเป็นกลุ่ม ดาวฤกษ์ส่วนมากจะมีแสงริบหรี่ แต่ก็มีดาวฤกษ์ปรากฏความสว่างมากๆ ให้เห็นเป็นประจำ  โดยยกตัวอย่างมาดังนี้



กลุ่มดาวซีริอัส


ลักษณะดวงดาว

มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวโจรและอีกชื่อหนึ่งคือดาวหมาใหญ่ เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่างอยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปัส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง  ดาวซิริอุสมีอายุเก่าแก่ราว 200-300 ล้านปี แต่เดิมประกอบด้วยดาวสีน้ำเงินสว่างสองดวง ดวงที่มีมวลมากกว่าคือซิริอุสบี เผาผลาญเชื้อเพลิงจนหมดและกลายเป็นดาวแดงยักษ์ ก่อนจะหดตัวลงและกลายเป็นดาวแคระขาวเช่นในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อ 120 ล้านปีที่แล้ว

นิทานดวงดาว

วันหนึ่ง โลกิ โอดิน และเทพอีกองค์หนึ่งชื่อว่า โฮนีร์ (Honir) กำลังย่างเนื้อเพื่อกินเป็นอาหารมื้อเย็น มีนกอินทรีย์ขนาดใหญ่ตัวหนึ่งโฉบลงมาจิกเอาก้อนเนื้อชิ้นใหญ่ที่ดีที่สุดติดอุ้งเล็บไป โลกิได้ใช้ไม้ปลายแหลมแทงติดตัวอินทรีย์ นกอินทรีย์ใหญ่โผบินขึ้นสู่ท้องฟ้าทั้งที่มีไม้ปลายแหลมปักติดรวมทั้งโลกิที่เกาะติดไปกับไม้นั้นด้วย ที่จริงแล้วนกอินทรีย์ใหญ่ตัวนั้นเป็นยักษ์ตนหนึ่งที่มีชื่อว่า ธีอาซี่ (Thiazi) แปลงตัวมา ยักษ์ธีอาซี่ไม่ยอมปล่อยโลกิจนกระทั่งโลกิสัญญาว่าจะนำเทพธิดา อีดูน(Idun) พร้อมด้วยตะกร้าที่มีแอปเปิ้ลทองคำมาให้ยักษ์ธีอาซี่จึงได้ยอมปล่อยตัวโลกิให้เป็นอิสระ และผลแอปเปิ้ลทองคำของอีดูนที่กล่าวถึงนี้ ไม่ใช่ผลไม่ธรรมดา หากแต่ผลไม้วิเศษที่เทพเจ้าบนสรวงสวรรค์กินแล้วทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาล ไม่รู้จักแก่เฒ่าโลกิซึ่งเป็นคนรูปหล่อมีเสน่ห์ได้ชักชวนเทพธิดาอีดูนให้ไปเดินเล่นด้วยกัน โลกิพาเทพธิดาอีดูนเดินข้ามสะพานบิโฟร์สซึ่งเป็นเขตแดนแยกระหว่างดินแดนของเหล่าเทพเจ้าและแผ่นดินถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ทันทีที่เทพธิดาอีดูนเดินข้ามสะพานพ้นออกมาจากเขตแดนสวรรค์แอสการ์ด นกอินทรีย์ได้โฉบลงจับตัวนางพาไปยังถิ่นที่อยู่ของมันซึ่งเป็นภูเขาปกคลุมด้วยหิมะ เมื่อขาดเทพธิดาอีดูนและผลแอปเปิ้ลวิเศษ เหล่าเทพเจ้าในแอสการ์ดก็เริ่มแก่เฒ่า ผมที่เริ่มมีสีแดงของธอร์ก็ค่อย ๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว ขวานฟ้าที่ขว้างออกไปก็ไม่ไกลจากที่เป็น รวมทั้งความแม่นยำก็ลดน้อยลงไปด้วย เทพโอดินก็เริ่มหูอื้อฟังอะไรไม่ชัดเจนดังเดิม เฟรย่าเทพแห่งความรักและความงามที่มีผมสีทองสุกปลั่งก็เริ่มมีแสงสีเงินแซมขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังเลวร้ายขึ้นเป็นลำดับ ความหนาวเย็นและน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นโลกทางเหนือได้เริ่มขยายตัวออกแผ่กระจายไปทั่วโลก

“สิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพราะเจ้าและเจ้าจะต้องแก้ไขให้ดีขึ้น” โอดินกล่าวกับโลกิ  ด้วยเหตุนี้โลกิจึงได้แปลงร่างเป็นนกเหยี่ยวขนาดเล็กบินออกจากแอสการ์ดตรงไปยังถิ่นที่อยู่ของยักษ์เพื่อจะสืบดูเหตุการณ์ว่าจะสามารถจัดการได้อย่างไร เมื่อโลกิได้เดินทางไปถึงปราสาทของยักษ์ธีอาซี่ พอดีกับที่เจ้ายักษ์ธีอาซี่ไม่อยู่ โลกิในร่างของเหยี่ยวตัวน้อยจึงได้บินผ่านหน้าต่างเข้าไปยังปราสาท พบเทพธิดาอีดูนกำลังร้องไห้อยู่ในห้องเล็ก ๆ ห้องหนึ่ง ในปราสาทแห่งนั้น โลกิในร่างของเหยี่ยวน้อยได้จัดการแปลงร่างของเทพธิดาอีดูนให้เป็นเมล็ดถั่วแล้วจึงใช้ปากคาบพาบินออกมาทางหน้าต่าง  แต่ทว่าก่อนที่โลกิจะพาเทพธิดาอีดูนกลับมาถึง

แอสการ์ด ยักษ์ธีอาซี่ได้กลับไปถึงปราสาทและพบว่าเทพธิดาอีดูนได้หายไปแล้ว ยักษ์ธีอาซี่ได้แปลงร่างเป็นนกอินทรีย์ยักษ์บินตามเหยี่ยวโลกิไปด้วยความโกรธ เทพเจ้าทั้งหลายบนแอสการ์ด

รู้เหตุการณ์และมองเห็นนกทั้งสองตัวบินไล่กันมาแต่ไกลเจ้านกอินทรีย์ยักษ์บินเข้าหาเหยี่ยวน้อยอย่างรวดเร็วและก่อนที่อินทรีย์ยักษ์จะถึงตัวเหยี่ยวน้อย เหล่าเทพเจ้าได้นำกิ่งไม้และใบไม้จำนวนมากมากองขวางไว้ตามกำแพงของแอสการ์ด เมื่อเหยี่ยวโลกิบินผ่านจึงได้ช่วยกันจุดไฟขวางกั้นนกอินทรีย์ยักษ์ไว้ไม่ให้บินผ่านไป นกอินทรีย์ยักษ์บินตามมาด้วยความเร็วไม่อาจหยุดได้ทันท่วงทีจึงได้รับบาดเจ็บเพราะโดนไฟบินถลาผ่านเขตแดนกั้นตกลงในเขตแดนของแอสการ์ดและถูกเทพเจ้าฆ่าตายเทพธิดาอีดูนและผลแอปเปิ้ลวิเศษจึงกลับคืนสู่แอสการ์ดอีกครั้งหนึ่ง แต่

ยักษ์ธีอาซี่ก็ยังมีผู้ที่รักอยู่ ลูกสาวของธีอาซี่เมื่อรู้ว่าพ่อตายจึงได้เดินทางไปแอสการ์ดเพื่อขอความยุติธรรม เพื่อให้ความยุติธรรมและเป็นที่พอใจต่อบุตรสาวของธีอาซี่ เทพโอดินจึงนำธีอาซี่ไปไว้ในท้องฟ้า เพื่อให้คนบนโลกได้มองเห็น ธีอาซี่จึงได้กลายเป็นดวงดาวหนึ่งในท้องฟ้าก็คือ ดาวซีริอัส (SIRIUS) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้านั่นเอง






กลุ่มดาวเวกา




Vega (α Lyr, α Lyrae, Alpha Lyrae,ดาวเวก้า) เป็นดาวสว่างใน กลุ่มดาวพิณ เป็นดาวสว่างลำดับที่5 ในท้องฟ้ากลางคืนและดาวสว่างเป็นอันดับสองในภาคเหนือของท้องฟ้าซีกโลกเหนือ หลังจากดาว Arcturus  มันเป็นดาวที่ค่อนข้างใกล้ที่เพียง 25 ปีแสง จากโลกและร่วมกับ Arcturus และ ซิเรียส ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์



ขนาดของดาวเวก้า(ด้านซ้ายมือ)กับดวงอาทิตย์(ด้านขวามือ) ภาพจากวิกิพีเดีย

ดาวเวก้าได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางโดยนักดาราศาสตร์ที่นำมันถูกเรียกว่า “เนื้อหาที่ดาวที่สำคัญที่สุดต่อไปในท้องฟ้าหลังจากดวงอาทิตย์.
  เวก้าเป็นเพียงประมาณหนึ่งในสิบของอายุของดวงอาทิตย์ แต่เพราะมันเป็น 2.1 เท่าในขณะที่อายุการใช้งานขนาดใหญ่ที่คาดว่ายังเป็นหนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์; ดาวทั้งสองอยู่ในปัจจุบันใกล้จุดกึ่งกลางของอายุขัยของพวกเขา เวก้ามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำผิดปกติขององค์ประกอบที่มีความสูงกว่า เลขอะตอม กว่า ฮีเลียม . เวก้ายังเป็นที่สงสัยว่า ดาวแปร ที่อาจแตกต่างกันเล็กน้อยในขนาดในลักษณะที่เป็นระยะ ๆ  มันจะ หมุน อย่างรวดเร็วด้วยความเร็ว จาก 274 กิโลเมตร / วินาทีที่เส้นศูนย์สูตร นี้เป็นสาเหตุของเส้นศูนย์สูตรที่กระพุ้งออกไปด้านนอกเพราะ แรงเหวี่ยง ผลกระทบและเป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิข้ามของดาว photosphere ที่ถึงสูงสุดที่ขั้วโลก จากโลก Vega จะถูกตั้งข้อสังเกตจากทิศทางของหนึ่งในขั้วโลกเหล่านี้
  ขึ้นอยู่กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินจากการสังเกตรังสีอินฟราเรด เวก้าดูเหมือนจะมีดิสก์ circumstellar ของฝุ่นละออง ฝุ่นนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นผลมาจากการชนกันระหว่างวัตถุที่โคจรใน ดิสก์เศษ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ เข็มขัดแถบไคเปอร์ ใน ระบบสุริยะ .  ดาวที่แสดงเกินอินฟราเรดเพราะการปล่อยฝุ่นละอองจะถูกเรียกว่าดาว Vega เหมือนความผิดปกติในดิสก์ของเวก้ายังแนะนำให้มีอย่างน้อยหนึ่งดาวเคราะห์ที่น่าจะเกี่ยวกับขนาดของ ดาวพฤหัสบดี  ในวงโคจรรอบเวก้า
รายละเอียดของดาวเวก้า
  • พิกัด 18h 36m 56.3364s, +38° 47′ 01.291″
  • มวล     2.135 ± 0.074  M ☉
  • รัศมี     2.362 × 2.818  R ☉
  • ความสว่างไสว     40.12 ± 0.45  L ☉
  • แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว log (g)     4.1 & 0.1 
  • อุณหภูมิ     9,602 ± 180 (8,152-10,060 K)  K
  • โลหะ [/ ซานตาเฟ H]     -0.5  Dex
  • การหมุน     12.5 ชั่วโมง
  • ความเร็วการหมุน (v sin i)    20.48 ± 0.11  กิโลเมตร / วินาที
  • อายุ     455 ± 13 Myr

กลุ่มดาวอาร์กตุรุส






     ดาวอาร์คตุรุส หรือ ดาวดวงแก้ว (Arcturus) คือดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Bootes) ถือเป็นดาวสว่างที่สุด
   ลำดับที่ 3 บนท้องฟ้ายามราตรี รองจากดาวซิริอุส และ ดาวคาโนปุส ดาวอาร์คตุรุสอยู่ห่างจากโลกประมาณ 36.7 ปีแสง มีขนาด
   ของรัศมีที่มากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 25.7 เท่า มีความสว่างของแสงมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 210 เท่า




กลุ่มดาวโปรซิออน




- Cmi (procyon) ดาวโปรซิออนเป็นดาวฤกษ์ที่สุกสว่างอันดับ 8 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน โดยมีความสว่างปรากฎเท่ากับ 0.38 อยู่ห่างจากโลกเพียงประมาณ 11 ปีแสง เป็นดาวคู่ซึ่งไม่สามารถแยกออกได้ด้วยกล้องขนาดเล็กเพราะ มีความสว่างเพียงประมาณ 10.3 นอกจากนี้ดาวโปรซิออนยังเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลียมหน้าหนาว ซึ่งอีก 2 ดวงคือ ดาวบีเทลจุส(betelgeuse)ในกลุ่มดาวนายพรานกับดาวโจร(sirius)ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่




กลุ่มดาวอะเคอร์นาร์




ดาวอะเคอร์นา() ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มีความสว่างปรากฏ เป็นอันดับที่ 9 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน ซึ่งอยู่ตำแหน่งปลายแม่น้ำ สามารถสังเกตได้โดย ต้นของแม่น้ำจะอยู่ใกล้กับดาวไรเจล ของ

กลุ่มดาวนายพราน(อยู่ทางมุมซ้ายบนของรูป) ส่วนปลายแม่น้ำคือดาวอะเคอร์นา



กลุ่มดาวสไปกา




     กลุ่มดาวในราศีที่ 6 หรือกลุ่มดาวราศีกันย์ คือ กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์ กลุ่มดาวนี้อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงห์โตกับกลุ่มดาวคันชั่ง มีดาวฤกษ์ที่สว่าง สุกใสอันดับที่ 16 ในท้องฟ้า ชื่อ สไปกา (Spica) ซึ่งแปลว่ารวงข้าว จากแผนที่ ดาวเก่าแก่ เขาเขียนรูปกล่มดาวนี้เป็นผู้หญิงสาวถือฟ่อนข้าวสาลีอยู่ในมือ
ดาวกลุ่มนี้มีดาวสำคัญ เกี่ยวกับวิชา ดาราศาสตร์อยู่อย่างหนึ่งคือ จุดตัดของ เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า และเส้นอีคลิพดิคจุดที่ 2 ซึ่งเรียกว่า Autumnal Equinox (บางท่านเรียกวันสารทวิษุวัต แปลว่า วันที่ดวงอาทิตย์ ยกเข้าสู่ราศีตุลย์ ) นั้นอยู่ในกลุ่มดาวกลุ่มนี้ วันที่ 23 กันยายนเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลก ฝ่ายเหนือเริ่มวันฤดูใบไม้ร่วง วันนั้นกลางวันและกลางคืนเท่ากัน
ตามยนิยายดาวที่เก่าแก่กล่าวว่า เวอร์ดโก (Virgo) หรือกลุ่มดาวราศีกันย์นี้ แทน Astrea บุตรสาวของจอมเทพพฤหัสดี (จูปีเตอร์) กับพระนาง Themis เวอร์โก เป็นเทพธิดาแห่งความยุติธรรม ในสมัยที่เทพธิดาเวอร์โกปกครองโลก พระนางได้รับความเคารพอย่างสูงจากมนุษย์ชาติ เมื่อเวลาผ่านไปถึง ยุคทองบรอนซ์และยุคเหล็ก มนุษย์เรามีความชั่วและความโหดร้ายทารุณ เทพธิดาเวอร์โกไม่พอใจในการกระทของมนุษย์ จึงได้หนีขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า แถบกลุ่มดาว 12 ราศี เป็นกลุ่มดาวราศีที่ 6
ตามนิยายดาวของอียิปต์ กล่าวว่า เวอร์โก หรือ หญิงพรหมจารีย์นี้ คือ เทพธิดาไอซีส (Isis) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันต่อ ๆ มาว่า เทพธิดา Isis ถูกยักษ์ร้านไต้ฝุ่น (Typhoon ) ติดตาม เธอได้ขว้างมัดข้าวสาลีในมีไปยังยักษ์ เมล็ดข้าวสาลีได้ แตกกระจัดกระจายเป็นทางสีขาวสลัว ซึ่งเรียกว่าทางช้างเผือก ดาวฤกษ์ Spica ในกลุ่มดาวนี้ ชาวอียิปต์โบราณเขากราบไหว้บูชา เพราะเขาเชื่อว่าดาวฤกษ์ดวงนี้ เป็นดาวฤกษ์แห่งความไพบูลย์และความเจริญ

กลุ่มดาวแอนทาเรส






กลุ่มดาวแมงป่อง เป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ที่จดจำได้ง่ายมาก หัวถึงหางมีขนาดถึง 30 องศา ตำแหน่งของกลุ่มดาวแมงป่องจะอยู่ทางทิศใต้ประมาณ 45 องศาจากขอบฟ้า
ดาวที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ แอนทาเรส (Antares) เป็นดาวยักษ์แดงที่มีความสว่าง 0.9 (สว่างอันดับ 15 ในท้องฟ้า) มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 400 เท่า อยู่ห่างจากโลก 604 ปีแสง
หางของกลุ่มดาวแมงป่องจะอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)

ส่วนกลุ่มดาวที่โค้งเหมือนหวีคือ กลุ่มดาวมงกุฏใต้ (Corona Australis)

ในตำนานเทพนิยายกรีก อาร์เธเมิส เทพีแห่งการล่าสัตว์ได้ส่งแมงป่องยักษ์ไปฆ่านายพรานชื่อโอไรออน ดังนั้นกลุ่มดาวแมงป่องและกลุ่มดาวนายพรานจะอยู่ตรงข้ามกัน เมื่อกลุ่มดาวนายพรานลับขอบฟ้า จะเป็นเวลาที่กลุ่มดาวแมงป่องปรากฏ





กลุ่มดาวบีเทลจุส






  1. ดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1000 เท่า ของดวงอาทิตย์ อยู่ไกลออกไป 640 ปีแสง จึงเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกนอกระบบสุริยะ ที่เราสามารถวัดขนาดของมันได้สำเร็จ ในปี 1920 และยังเป็นดาวฤกษ์ดวงแรก ที่เราสามารถถ่ายภาพชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย
  2. ระยะทางจากโลก642.5 ปีแสง
  3. มวล15.31E30 kg (7.7 มวลดวงอาทิตย์)
  4. รัศมี820,700,000 กม. (1,180 R☉)
  5. อุณหภูมิพื้นผิว3,500 K (เคลวิน)



กลุ่มดาวอัลดิบาแรน

  1. ดาวอัลดิบาแรน (อังกฤษAldebaran; ชื่ออื่น: α Tau, α Tauri, Alpha Tauri) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาววัว และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาว ในอดีตจึงมีที่เรียกชื่อดาวนี้ว่า ดาวตาวัว ดาวอัลดิบาแรนเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดในบริเวณกระจุกดาวไฮดีส (Hyades) ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ขององค์การนาซาที่เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีเมื่อปี ค.ศ. 1973 จะเดินทางไปถึงผ่านดาวอัลดิบาแรนในประมาณอีก 2 ล้านปีข้างหน้า

  1. ระยะทางจากโลก65.23 ปีแสง

  2. มวล3.381E30 kg (1.7 มวลดวงอาทิตย์)
  3. รัศมี30,740,000 กม. (44.2 R☉)
  4. อุณหภูมิพื้นผิว3,910 K (เคลวิน)



กลุ่มดาวพอลลักซ์





ลักษณะปรากฏและแนวทางขึ้นตก

จุดที่ขึ้นคือประมาณกึ่งกลางของจุดทิศตะวันออกกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะขึ้นคนคู่เอาเท้าขึ้นก่อน โดยเท้าเอียงไปทาง ใต้เล็กน้อย ลำตัวจึงไม่ตั้งตรงกับขอบฟ้า ทั้งคาสเตอร์และพอลลักซ์เอาหัวลง คาสเตอร์อยู่ทางซ้ายและพอลลักซ์อยู่ทางขวา

เมื่อคาสเตอร์ขึ้นไปสูงสุด เราจะต้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ แล้วแหงนหน้าขึ้นเป็นมุมเงยประมาณ 70 องศาจึงจะเห็น ในขณะ ที่พอลลักซ์อยู่เยื้องไปทางขวามือเป็นมุมเงย 75 องศา ณ ตำแหน่งนี้ คนคู่อยู่ในลักษณะนอนเกือบขนานกับขอบฟ้า โดยมีเท้าหันไปทาง ทิศตะวันตก คาสเตอร์อยู่ทาทิศเหนือของพอลลักซ์

เมื่อขึ้นไปสูงสุดแล้วกลุ่มดาวคนคู่จะคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตก โดยค่อย ๆ เอาเท้าลง ในที่สุดจะตกดินหรือลับขอบฟ้าตรงจุด กึ่งกลางระหว่างทิศตะวันตกกับทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาสเตอร์จะยืนเกือบตัวตรงกับขอบฟ้าและอยู่ทางขวามือของพอลลักซ์ เมื่อใกล้ ขอบฟ้าทางตะวันตกมักจะมองไม่เห็นดาวดวงอื่น นอกจากคาสเตอร์และพอลลักซ์ เพราะดาวอื่น ๆ สว่างน้อย ขณะนั้นพอลลักซ์จะอยู่สูง เป็นมุมเงย ประมาณ 20 องศา

เวลาที่เห็น

ในช่วงต้นเดือนมกราคมกลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นเวลาหัวค่ำและตกตอนรุ่งเช้า ดังนั้นจึงเป็นระยะเวลาที่จะมีโอกาสเห็นดาวกลุ่มนี้ ได้นานกว่าเดือนอื่น ๆ แต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคมจะมองไม่เห็นกลุ่มดาวคนคู่ เพราะขึ้นและตกพร้อม ๆ กับ ดวงอาทิตย์

นิทานดวงดาว

ซีอุสเกิดไปหลงรักนางเรดา มเหสีของพระราชาไทนดาริอุส (Tyndareus) แห่งเมืองสปาร์ต้า ซีอุสจึงวางแผนกับเฮอร์เมส ให้เฮอร์เมสแปลงกายเป็นอินทรีให้ไล่ตามตัวเองซึ่งแปลงกายเป็นหงส์ขาว (ซึ่งว่ากันว่ากลุ่มดาวหงส์หรือ Cygnus ก็คือรูปร่างของซีอุสที่กลายเป็นหงส์ขาวนี่เอง) เมื่อนางเรดาเห็นดังนั้นจึงเข้าไปช่วยโอบกอดหงส์ขาวไว้แล้วไล่อินทรีไปแล้วไม่นานนักนางเรดาก็คลอกลูกออกมาเป็นไข่สองใบ และในไข่แต่ละใบ ก็มีฝาแฝดชายหญิงอย่างละคู่อยู่ ได้แก่ คาสเตอร์กับคลิเทมเนสตร้า(Clytemnestra)ในไข่ใบแรก และ พอลลักซ์กับเฮเลน (Helen) ในไข่ใบที่สอง (ซึ่งนางเฮเลนที่ว่านี้ ก็คือนางเฮเลนที่เป็นต้นกำเนิดของการล่มสลายของเมืองทรอยนั่นเอง) คาสเตอร์กับพอลลักซ์เป็นพี่น้องที่รักกันมาก แต่ทว่าคาสเตอร์นั้นเป็นลูกของไทนดาริอุสที่เป็นมนุษย์จึงไม่ได้เป็นอมตะ ผิดกับพอลลักซ์ที่เป็นบุตรของซีอุสจึงไม่แก่ไม่ตาย คาสเตอร์และพอลลักซ์ ซึ่งทั้งสองก็เป็นผู้กล้าที่มีชื่อเสียงมาก โดยได้เคยรวมเรืออาร์โก้ไปกับเจสันเพื่อเอาขนแกะทองคำด้วย

เรื่องเล่าเกี่ยวกับการตายของคาสเตอร์มีอยู่ว่า ทั้งสองได้ไปร่วมงานแต่งงานระหว่างคู่ฝาแฝดชายนามว่าอิดั(Idas)และไลนเซอุส(Lynceus) กับฝาแฝดหญิงคือนางฟีเบ (Phoebe) และนางฮิลาเอย์ร่า (Hilaeira) ไม่รู้ว่าเมาอะไร ทำให้คาสเตอร์กับพลอลักซ์กลับไปฉุดเอาเจ้าสาวทั้งสองมา ทำให้เกิดการต่อสู้กับอิดัสและไลนเซอุส ส่งผลให้คาสเตอร์ตาย (อิดัสกับไลนเซอุสก็ตายด้วย) พอลลักซ์เศร้าเสียใจมาก แต่ด้วยว่าตนเป็นอมตะไม่สามารถตายร่วมกับคาสเตอร์ได้ จึงร้องขอกับเหล่าเทพว่า ให้ตนสามารถแบ่งความเป็นอมตะแก่คาสเตอร์ หลังจากนั้นทั้งสองจึงอยู่บนสวรรค์ 1 วันและจะไปอยู่ในแดนแห่งคว